ประวัติห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งจากกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญ
ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 2 1 พฤศจิกายน พ. ศ. 2515 โดยแต่เดิมได้ใช้อาคารที่ว่าการอำเภอบ้านแหลมหลังเก่าเป็นที่ทำการชั่วคราว (บริเวณวัดต้นสนในปัจจุบัน) จนกระทั้งปี ในปี พ. ศ. 2518 ได้ย้ายที่ทำการจากที่ว่าการอำเภอบ้านแหลมหลังเก่า ไปอยู่ที่ห้องเรียนชั้นล่าง อาคาร 1 ของโรงเรียนวัดต้นสน เป็นที่ทำการห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนปีละ 1,000.- บาท โดยมีอาจารย์ปราณี สมยา อาจารย์ของโรงเรียนวัดต้นสน ช่วยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายจากอาคาร 1 ไป อยู่อาคาร 3 ของโรงเรียนวัดต้นสน โดยมีอาจารย์บุญสม ภู่ผะกา เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จนถึงปี พ. ศ. 2523 ได้ย้ายกลับมาอยู่ที่อาคาร 1 ของโรงเรียนวัดต้นสนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความสะดวกในการให้บริการประชาชน โดยได้มอบหมายให้อาจารย์ปราณี สมยา เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุดอีกครั้งจนกระทั้งปี พ.ศ. 2531
ด้วยความรัก ความสามัคคี ของข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ชาวอำเภอบ้านแหลม โดยการนำของนายสุรชัย ธนานันท์ นายอำเภอบ้านแหลม (ตำแหน่งในขณะนั้น ) ได้ร่วมประชุมหารือ กับพ่อค้าประชาชน โดยการนำของ นายกมล สุตะวิริยะวัฒน์ กำนันตำบลบ้านแหลมในขณะนั้น และคณะ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ จะจัดสร้างอาคารห้องสมุดอำเภอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทอญพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ เพื่อเป็นแหล่งให้บริการด้านความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
จากนั้น คณะกรรมการผู้ริเริ่มจัดสร้างอาคารห้องสมุดได้ดำเนินการจัดหางบประมาณในการก่อสร้าง โดยคณะกรรมการพี่น้องประชาชนชาวอำเภอบ้านแหลมได้เสียสละ บริจาคเงินสมทบทุนในการก่อสร้าง จนสามารถก่อสร้างอาคารห้องสมุดได้สำเร็จ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการเลย
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม ได้เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2530 บนที่ดินกระทรวงมหาดไทย จำนวน 3 ไร่ 73 ตารางวา ม. 4 ต.บ้านแหลม โดยใช้ที่ดินร่วมกับบ้านพักและหน่วยราชการอื่น ร่วมทั้ง ชุมชน ม. 4 ต.บ้านแหลมด้วย การก่อสร้างได้แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2530 รวมเวลาในการก่อสร้าง 105 วัน รวมราคาค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,500,000.- บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน ) แลละคณะกรรมการได้มอบอาคารห้องสมุดฯให้กับทางราชการ โดยมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเพชรบุรี รับผิดชอบในการดำเนินงาน
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม แห่งใหม่นี้ได้เปิดบริการแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยระยะแรกยังไม่มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเพชรบุรี จึงได้ส่ง นายสุนทร คำเวบุญ อาจารย์ของศูนย์ ฯ ไปทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแหลม โดยใช้อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม เป็นสำนักงาน นายสุนทร คำเวบุญ จึงต้องรับผิดชอบเป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โดยมีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนเป็นผู้ช่วย และมีนายสมพล ตุ้มศรี เป็นนักการภารโรง
จนกระทั้ง วันที่ 3 เดือนมิถุนายน พ. ศ. 2534 กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้บรรจุแต่งตั้ง นางสาววดี จันทเมธี ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม
ปี พ.ศ. 2538 นางน้ำค้าง สีเดือน ได้รับการแต่งตั้งจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน มาดำรง
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
ปี พ.ศ. 2547 นายอรุณ นุชนิยม ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด แทน นางน้ำค้าง
สีเดือน เมื่อวันที 30 เมษายน พ.ศ. 2547
ผู้มาใช้บริการห้องสมุดฯ โดยเฉลี่ยประมาณ วันละ 30 คน
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งจากกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญ
ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 2 1 พฤศจิกายน พ. ศ. 2515 โดยแต่เดิมได้ใช้อาคารที่ว่าการอำเภอบ้านแหลมหลังเก่าเป็นที่ทำการชั่วคราว (บริเวณวัดต้นสนในปัจจุบัน) จนกระทั้งปี ในปี พ. ศ. 2518 ได้ย้ายที่ทำการจากที่ว่าการอำเภอบ้านแหลมหลังเก่า ไปอยู่ที่ห้องเรียนชั้นล่าง อาคาร 1 ของโรงเรียนวัดต้นสน เป็นที่ทำการห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนปีละ 1,000.- บาท โดยมีอาจารย์ปราณี สมยา อาจารย์ของโรงเรียนวัดต้นสน ช่วยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายจากอาคาร 1 ไป อยู่อาคาร 3 ของโรงเรียนวัดต้นสน โดยมีอาจารย์บุญสม ภู่ผะกา เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จนถึงปี พ. ศ. 2523 ได้ย้ายกลับมาอยู่ที่อาคาร 1 ของโรงเรียนวัดต้นสนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความสะดวกในการให้บริการประชาชน โดยได้มอบหมายให้อาจารย์ปราณี สมยา เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุดอีกครั้งจนกระทั้งปี พ.ศ. 2531
ด้วยความรัก ความสามัคคี ของข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ชาวอำเภอบ้านแหลม โดยการนำของนายสุรชัย ธนานันท์ นายอำเภอบ้านแหลม (ตำแหน่งในขณะนั้น ) ได้ร่วมประชุมหารือ กับพ่อค้าประชาชน โดยการนำของ นายกมล สุตะวิริยะวัฒน์ กำนันตำบลบ้านแหลมในขณะนั้น และคณะ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ จะจัดสร้างอาคารห้องสมุดอำเภอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทอญพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ เพื่อเป็นแหล่งให้บริการด้านความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
จากนั้น คณะกรรมการผู้ริเริ่มจัดสร้างอาคารห้องสมุดได้ดำเนินการจัดหางบประมาณในการก่อสร้าง โดยคณะกรรมการพี่น้องประชาชนชาวอำเภอบ้านแหลมได้เสียสละ บริจาคเงินสมทบทุนในการก่อสร้าง จนสามารถก่อสร้างอาคารห้องสมุดได้สำเร็จ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการเลย
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม ได้เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2530 บนที่ดินกระทรวงมหาดไทย จำนวน 3 ไร่ 73 ตารางวา ม. 4 ต.บ้านแหลม โดยใช้ที่ดินร่วมกับบ้านพักและหน่วยราชการอื่น ร่วมทั้ง ชุมชน ม. 4 ต.บ้านแหลมด้วย การก่อสร้างได้แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2530 รวมเวลาในการก่อสร้าง 105 วัน รวมราคาค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,500,000.- บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน ) แลละคณะกรรมการได้มอบอาคารห้องสมุดฯให้กับทางราชการ โดยมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเพชรบุรี รับผิดชอบในการดำเนินงาน
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม แห่งใหม่นี้ได้เปิดบริการแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยระยะแรกยังไม่มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเพชรบุรี จึงได้ส่ง นายสุนทร คำเวบุญ อาจารย์ของศูนย์ ฯ ไปทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแหลม โดยใช้อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม เป็นสำนักงาน นายสุนทร คำเวบุญ จึงต้องรับผิดชอบเป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โดยมีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนเป็นผู้ช่วย และมีนายสมพล ตุ้มศรี เป็นนักการภารโรง
จนกระทั้ง วันที่ 3 เดือนมิถุนายน พ. ศ. 2534 กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้บรรจุแต่งตั้ง นางสาววดี จันทเมธี ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม
ปี พ.ศ. 2538 นางน้ำค้าง สีเดือน ได้รับการแต่งตั้งจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน มาดำรง
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
ปี พ.ศ. 2547 นายอรุณ นุชนิยม ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด แทน นางน้ำค้าง
สีเดือน เมื่อวันที 30 เมษายน พ.ศ. 2547
ผู้มาใช้บริการห้องสมุดฯ โดยเฉลี่ยประมาณ วันละ 30 คน
ดีมาก
ตอบลบhttps://www.pra-maeklong.com/2020/02/wattonson.html
ตอบลบ